องค์การบริหารส่วนตำบลโตนด
ศักยภาพในตำบล

 

ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตด้วยเทคนิค  SWOT  ขององค์การบริหารส่วนตำบลโตนด

จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการท้องถิ่น  ได้มีความเห็นร่วมกันในการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้หลัก  SWOT  analysis  และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา  โดยใช้  วิธีการ  Rating  Scales  มีเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการจัดลำดับความสำคัญ  ปริมาณปัญหา  ขนาดของกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์  ความร้ายแรงและความเร่งด่วน  โดยเฉพาะปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ด้านการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต  เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  สาธารณสุข  การศึกษา  การบริหารจัดการ  และสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ตามลำดับ  


1. จุดแข็ง  (Strength)


1.1  ด้านที่ตั้งชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโตนด  เป็นชุมชนที่ปราศจากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ  เป็นชุมชนเกษตรกรรมพื้นที่สีเขียว  มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านอำเภอ  จังหวัด สะดวก  
1.2  ด้านเศรษฐกิจ  ลักษณะพื้นที่ตำบลโตนดเป็นที่ราบลุ่ม  มีพื้นที่กว้างเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่  ทำนา  ทำสวน  
1.3  องค์การบริหารส่วนตำบลโตนดมีงบประมาณเป็นของตนเอง  มีศักยภาพในการบริการสาธารณะและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนตามอำนาจหน้าที่ได้อย่างรวดเร็ว  ทันต่อเหตุการณ์
1.4  มีอุปกรณ์และเครื่องมือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานพอสมควรและทันสมัย
1.5  มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถ  ระเบียบวินัย  และสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
1.6  โครงสร้างองค์กรมีขนาดกะทัดรัด  ทำให้การประสานการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
1.7  ประชาชนให้ความร่วมมือในการร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน  และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง


2. จุดอ่อน (Weakness)


2.1  เส้นทางการคมนาคมภายในหมู่บ้านและเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านบางสายยังเป็นถนนดิน  ถนนลูกรัง  ทำให้การสัญจรไป – มา  ค่อนข้างลำบาก
2.2  การให้บริการทางด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2.3  พื้นที่บางส่วนที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มในฤดูฝนจะถูกน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง  ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย
2.4  บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการต่าง ๆ  จากหน่วยงานของรัฐ
2.5  ความไม่สอดคล้องระหว่างแนวนโยบาย  กับ  วิธีการปฏิบัติงาน  เนื่องมาจากความไม่ชัดเจนในระเบียบวิธีการปฏิบัติตามตัวบทกฎหมายทำให้เกิดความบกพร่องและล่าช้าในการทางการปฏิบัติ

 
3. โอกาส (Opportunity)


3.1  นโยบายของรัฐที่มีส่วนสนับสนุนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้การบริหารงานมีความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
3.2  มีการกำหนดกฎหมาย และพระราชบัญญัติต่าง ๆ ขึ้นเพื่อเป็นแม่บทและกรอบในการดำเนินงาน ทำให้มีทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3.3  รัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน (เช่น 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล) ทำให้เกิดการสร้างงานอาชีพในชุมชน
3.4  มีความเจริญของเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.5  เส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอ - จังหวัด ได้มาตรฐาน สามารถใช้สัญจรได้สะดวก ปลอดภัย
3.6  ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการร่วมคิด  ร่วมทำ  เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อน  ตามกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น
3.7  มีความร่วมมือที่ดีระหว่างทุกภาคส่วนในชุมชน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ในการประสานการพัฒนาท้องถิ่น
3.8  ชุมชนมีศูนย์รวมที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจคือศาสนาพุทธ ทำให้มีความรักสามัคคี เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3.9  พื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์กว้างใหญ่เหมาะแก่การทำการเกษตร
3.10 ประชาชนมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยและกฎหมายรัฐธรรมนูญ
3.11  สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่นได้

   
4. อุปสรรค (Threat)


4.1  ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายการสนับสนุนจากรัฐบาล  ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย
4.2  ขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนาและจัดสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่
4.3  ขาดการวางระบบผังเมือง  ทำให้มีสิ่งปลูกสร้างที่ไม่เหมาะสมอยู่ในเขตชุมชน
4.4  หลังฤดูทำการเกษตรประชาชนจะอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปยังชุมชนเมืองเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว ทำให้ครอบครัวแตกแยกขาดความอบอุ่น  
4.5  ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมยังไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร
4.6  วัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามายังชุมชน ทำให้ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเริ่มเลือนหาย
4.7  การรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ไม่ประสบความสำเร็จ  เนื่องจากประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับการบริหารและการจัดการ
4.8  ขาดความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการผลิต ทำให้สินค้าทางการเกษตรไม่ได้มาตรฐาน ราคาต่ำ  ต้นทุนการผลิตสูง  ผลผลิตตกต่ำเนื่องจากการเพาะปลูกอาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตร
4.9  ประชาชนยากจน  มีภาระหนี้สินมาก  ขาดความรู้และทักษะในการพัฒนาการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการทำการเกษตรที่เป็นอาชีพหลักของประชาชนในท้องถิ่น